ฝากรูป
ฝากไฟล์
upload.212cafe.com
วันพุธ ที่ 5 เมษายน 2549 "เอิร์น" เดอะสตาร์ จะเปิดทำการแสดงที่วัดราษฎร์เจริญธรรม (วัดสุน)
ม. 6 ตำบลดำเนินสะดวก ดำเนินสะดวก
จังหวัดราชบุรี 70130
ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี
เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ
ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด
สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า
จากตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้สันนิษฐานได้ว่าราชบุรีเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ
่งของแคว้นสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียได้เผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบ
นี้ เมื่อราวปี พ.ศ. 218
โดยแคว้นสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครปฐมหรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า ทวารวดี
ราชบุรียังเป็นแหล่งพบปะของพ่อค้าวาณิชแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดต่อกับพม่า
ราชบุรีจึงเป็นดินแดนที่หลากหลายชาติพันธุ์และกลุ่มชนที่สุดแห่งหนึ่ง
ราชบุรีในวันนี้จึงเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ทั้งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วิถีชีวิต วัฒนธรรม
งานหัตถกรรมเครื่องปั้น เครื่องหล่อ ทอถักจักสาน ถ้ำธารป่าเขา
และธรรมชาติที่งดงามท้ายทายการมาเยือนของผู้คนจากทุกมุมโลก
จังหวัดราชบุรีมีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 5,196 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 1
กิ่งอำเภอคือ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอปากท่อ อำเภอจอมบึง อำเภอบางแพ
อำเภอวัดเพลง อำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านโป่งและกิ่งอำเภอบ้านคา
อำเภอดำเนินสะดวก ในสมัยก่อนเป็นที่ราบลุ่ม มีป่าดงไผ่ และต้นเสือหมอบ
ไม่มีคลองมากมายเหมือนเช่นในปัจจุบัน มีคลองธรรมชาติ เช่น คลองบางป่า คลองแพงพวย คลองสี่หมื่น
คลองบางพัง คลองบางนกแขวก ซึ่งแต่เดิมเป็นทางเกวียนและระแทะ
(เกวียนสำหรับนั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่งเพื่อให้ไปได้เร็ว , เกวียนเล็กที่ใช้เทียมด้วยโค)
มีน้ำไหลผ่านเฉพาะในฤดูน้ำหลาก เมื่อถึงฤดูแล้งจะไม่มีน้ำเลย การคมนาคมส่วนใหญ่เดินด้วยเท้า
หรือใช้พาหนะ เช่น ช้าง ม้า ทางน้ำใช้เรือพาย เรือแจว เรือใบ เรือสำเภา ในสมัยนั้น
การเดินทางติดต่อกันทางเรือมีความสำคัญมาก จะเห็นได้ว่าที่ทำการของรัฐ เช่น
ศาลากลางจังหวัดหรือที่ว่าการอำเภอ ฯลฯ จะสร้างอยู่ริมทะเลหรือริมคลองเป็นส่วนใหญ่
การคมนาคมทางเรือระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดราชบุรี ในสมัยนั้น จะล่องมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา
เข้าคลองดาวคะนอง ไปออกจังหวัดสมุทรสงคราม
แล้วเข้าคลองสุนัขหอนไปออกแม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดสมุทรสงคราม ขึ้นไปถึงจังหวัดราชบุรี
พระบาทมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชดำริ เมื่อปี พ.ศ.2409 (ร.ศ.
89 ปีขาล อัฐศก ร.ศ.85 จ.ศ.122 เห็นว่าการคมนาคมที่ไปมาระหว่างกรุงเทพฯ
สมุทรสาครมีคลองภาษีเจริญที่ทำการสัญจรไปมาได้สะดวกดี แต่ถ้ามีคลองระหว่างกรุงเทพฯ สมุทรสงคราม
และราชบุรีก็จะสะดวกขึ้นอีกเป็นอันมาก โดยที่อาศัยแม่น้ำแม่กลองเป็นสื่อกลางเมื่อเป็นคลองได้
การไปมาหาสู่ โดยทางน้ำก็จะมีความสามารถและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
ในปี พ.ศ.2409 นั้นเอง พระบาทสทเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่พระสมุหกลาโหม
เมื่อครั้งยังพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระปราสาทสิทธิ์
เป็นผู้อำนวยการขุดคลองที่เชื่อมจากแม่น้ำท่าจีนเริ่มจากปากคลองบางยาง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
กับแม่น้ำแม่กลอง ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีสมเด็จพระยาบรมหมาศรีสุริยวงศ์
เป็นผู้ควบคุมดูแล และใช้กำลังของทหาร ข้าราชการ ประชาชน
ตลอดจนชาวจีนที่มาอาศัยอยู่ในเมืองไทยใหม่ๆ ร่วมกันขุด การขุดดินนี้ใช้กำลังแรงงานของคนล้วนๆ
โดยที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องทุ่นแรงอย่างอื่นเลย คนจีนสมัยนั้นส่วนมากจะไว้ผมเปีย
มาเป็นผู้รับจ้างขุด หากเป็นเดือนหงาย กลางคืนจะทำการขุดดินกันทั้งคืน
เมื่อทำงานกลางคืนจะนุ่งเพียงผ้าเตี่ยวผืนเดียว ขุดดินใส่ปุ้งกี๋แล้วก็หาบดินหรือแบกดินนั้น
เอาดินไปทิ้งนอกเขตที่ต้องการ กลางคืนอากาศดี ไม่ร้อน
ทำงานได้ดีตลอดทั้งคืนแล้วมาพักผ่อนตอตนกลางวัน เอาแรงไว้ทำงานตอนกลางคืนต่อไป
คลองดำเนินสะดวก นี้เมื่อทำการขุดเสร็จแล้ว เดิมมีความยาวมากถึง 35 กิโลเมตร
เมื่อแรกขุดนั้นกว้างประมาณ 6 วา และลึก 6 ศอก แต่นานเข้าตลิ่งถูกน้ำพัดผ่านกัดเซาะ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากแรงกระทบของคลื่นเรือยนต์ประเภทต่างๆ เป็นเหตุให้คลองขุดขยายกว้างขึ้นเป็น 10
วาบ้าง 15 วาบ้าง และบางแห่งกว้างถึง 20 วาก็มี ด้วยขนาดและความยาวของคลองที่ขุด
ประกอบกับเป็นคลองที่สะดวกในการเดินทางตัดตรงไปหลายพื้นที่
ทำให้มีเจ้านายผู้ใหญ่หลายคนมาจับจองที่ดินซึ่งเป็นป่ารก ดงอ้อ ดงแขมพร้อมขุดคลองน้อย
คลองซอยแยกจากคลองใหญ่เพื่อเข้าสู่พื้นที่ของตน
ป่าพงแขมเหล่านั้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนกลายเป็นเรือกสวนไร่นา
ต่อมากลายเป็นผลผลิตหลักของของชาวดำเนินสะดวก ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ
และเป็นสินค้าหลักที่สำคัญของตลาดน้ำแห่งนี้ เขตคลองดำเนินสะดวก มีระยะคลองที่ยาวมาก
เป็นคลองที่ตรงไม่เหมืนคลองอื่นๆ ที่คดเคี้ยวไปมา เป็นคลองที่ผ่านเขตถึง 3 อำเภอใน 3 จังหวัด
คืออำเภอบ้านแพ้ว อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบางคนที ตลอดคลอง 35 กิโลเมตร เรียกว่าคลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวกเป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4
ทรงมีพระราชดำริและให้ขุดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2409 หรือประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา เป็นการใช้กำลังคนล้วน ๆ
และส่วนมากเป็นคนจีนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยใหม่ ๆ เป็นผู้รับจ้างขุดทั้งกลางวันและกลางคืน
มีความยาวประมาณ 35.8 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีน กับแม่น้ำแม่กลอง ผ่านพื้นที่ 3 อำเภอบ้านแพ้ว
อำเภอดำเนินสะดวก และอำเภอบางคนที และทุก 4
กิโลเมตรจะมีเสาหินปักไว้เพื่อบอกระยะทางเริ่มต้นจากตำบลบางยาง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร หลักที่
1 และสิ้นสุดหลักที่ 8 ที่วัดเจริญ สุขารามฯ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และสำหรับชื่อ
"คลองดำเนินสะดวก" นั้น เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
5 ในปีพ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123) ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นคลองที่ตรงได้รับความสะดวกในการสัญจร
จึงพระราชทานนามคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า "คลองดำเนินสะดวก" และได้ทำพิธีเปิดในคลองนี้เมื่อวันที่
25 พฤษภาคม 2447 ซึ่งในการนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสต้น
พร้อมด้วยพระประยูรญาติไปตามคลองดำเนินสะดวก และเสด็จประทับแรม ณ วัดโชติทายการาม เมื่อวันที่ 16
กรกฎาคม 2447 (ร.ศ. 123) ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่ชาวดำเนินสะดวกภาคภูมิใจเป็นยิ่งนัก
นับถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 101 ของการเสด็จประพาสต้น
..เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้นำเรือพระที่นั่งเทียบท่าหน้าวัดโชติทายการาม
โปรดเกล้าฯให้มหาดเล็กจัดที่ประทับแรมบนศาลาการเปรียญ ให้พนักงานเครื่องต้นประกอบพระกระยาหารสำหรับเสวย
ณ ที่ศาลาท่าน้ำ ในตอนบ่ายของวันนั้น พระองค์พร้อมด้วยขุนขางผู้ใหญ่ 2 ท่าน
ซึ่งมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จทรงเรือมาดพาย ไปตามลำพัง
ทั้งนี้เพราะพระองค์ท่านต้องการทราบความเป็นอยู่สารทุกข์สุขของราษฎรของพระองค์
พระองค์ได้เสด็จเข้าไปทางคลองลัดราชบุรี (คลองลัดพลี) ผ่านบ้านราษฎรห่างๆจะมีสักหลัง จึงมิได้แวะเยี่ยม
จนมาถึงบ้านนางผึ้ง แซ่เล้า
เห็นว่าเรือแปลกหน้าคิดว่าเป็นขุนนางก็ร้องเชื้อเชิญให้แวะที่บ้านพระองค์จึงเสด็จขึ้นบ้านนางผึ้ง
ขณะนั้น นางผึ้งหุงข้าวสุกพอดี จึงเรียกลูกชาย คือ "เจ็กฮวด" อายุประมาณ 20
เศษให้ยกกระบะกับข้าว แล้วร้องเชิญให้พระองค์เสวย ขณะกำลังเสวยสุกพอดี เจ็กฮวดซึ่งมานั่งยองๆ
มองดูพระเจ้าอยู่หัวแล้วหันไปดูพระบรมฉายาลักษณ์ที่หิ้งบูชา ดูแล้วดูเล่า แล้วก็เอ่ยว่า "คล้ายนัก
คล้ายนัก ขอรับ" พระเจ้าอยู่หัวจึงตรัสถามว่า "คล้ายนัก คล้ายนัก อะไร"
เจ็กฮวดบอกว่าคล้ายรูปที่บูชาไว้พูดจบก็เอาผ้าขาวม้าปูกราบพระองค์ท่าน พระองค์ตรัสว่า
"แน่ใจหรือ" เจ็กฮวดตอบ "แน่ใจขอรับ" พระองค์จึงตรัสชมเจ็กฮวดว่า
"ฉลาดและตาแหลมดี จะให้เป็นมหาดเล็กเอาไหม" เจ็กฮวดพยักหน้า "เอาขอรับ"
จึงตรัสสั่งให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเชิญพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เจ็กฮวด
แซ่เล้าเป็นมหาดเล็กชาวบ้านจึงเรียกว่า "เจ็กฮวดมหาดเล็ก"